คาโน่ จิโกโร่ ผู้ก่อตั้งวิชายูโด

“คาโน่ จิโกโร่ ผู้ก่อตั้งวิชายูโด”สาหรับคอลัมน์ “มองซีอีโอโลก” (ลาดับที่ 217) หนังสือพิมพ์โพสต์ ทูเดย์ ประจาวันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม 2552 โดยวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานมูลนิธิอมตะ www.vikrom.net, e-mail:vikrom@vikrom.net (ติดตามหนังสือ “ผมจะเป็นคนดี” ไฟฝัน วันเยาว์ ฉบับสมบูรณ์ , ผมจะเป็นคนดี:ก่อร่างสร้างธุรกิจ และ มองซีอีโอโลก เล่ม 1 -4 ล่าสุด “ผมจะเป็นคนดีฉบับย่อ” ราคา ๓๙ บาทเท่านั้น Only@7-11 ได้ที่ร้านหนังสือทุกแห่งและร้านสะดวกซื้อ 7-11 ,แฟมิลี่มาร์ททุกสาขา และรายการ “หมุนตามโลกกับวิกรม” ทุกวันจันทร์ เวลา 9.30-9.55 น. ทาง สถานีโทรทัศน์ช่อง 5 )

ชีวิตคนเรานั้นต้องต่อสู้และปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการกินอยู่ หรือการเรียนรู้ ซึ่งจะกระทาโดยใช้ความสนใจของแต่ละคนเป็นตัวกาหนด ชีวิตคือการเปลี่ยนแปลงของคนใฝ่รู้ ความรู้คือขั้นตอนของการเดินทางไปข้างหน้าของคนที่ต้องการจะเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตของตนเองให้ดีขึ้น ฉะนั้นในยุคที่ผ่านมาจึงถือเป็นยุคที่มนุษย์สามารถค้นพบสิ่งใหม่ ๆ มากมายตามความสนใจของแต่ละบุคคล และถือว่าเป็นช่วงที่มีการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ มากที่สุดตั้งแต่มีการบันทึกประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ เพราะโลกได้เปิดกว้างในโลกของการติดต่อสื่อสาร จึงทาให้เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ

ศิลปะการต่อสู้ถือเป็นเกมส์กีฬาที่ผู้คนใช้เพื่อออกกาลังกาย แต่ได้มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากความเป็นอิสระในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และในบรรดาศิลปะป้องกันตัวที่มีอยู่ในโลกเรานั้นมีอยู่หลายแขนง ไม่ว่าจะเป็นมวยไทย คาราเต้ ยูโด ไอคิโด กังฟู เทควันโด้ เป็นต้น ศิลปะป้องกันตัวแต่ละแขนงก็มีเอกลักษณ์และเทคนิคเป็นของตัวเอง ญี่ปุ่นเป็นชาติหนึ่งที่เป็นแหล่งกาเนิดของศิลปะป้องกันตัวหลายแขนง คือ คาราเต้ ยูโด ไอคิโด เคนโด้ โดยศิลปะป้องกันตัวแต่ละแขนงของญี่ปุ่นล้วนแต่มีประวัติศาสตร์มีที่มา ที่ผ่านการผสมผสานแนวทางและเทคนิคจนยากที่จะสืบสาวต้นตอต้นกาเนิดได้ว่าใครเป็นผู้ให้กาเนิดศิลปะป้องกันตัวนั้นๆ แต่หนึ่งในศิลปะป้องกันตัวเหล่านี้มีอยู่ประเภทหนึ่งที่เป็นที่รู้กันอย่างดีว่ามีปรมาจารย์คนสาคัญเป็นผู้ให้กาเนิด ซึ่งก็คือ ยูโด ที่มีปรมาจารย์ผู้มีนามว่า คาโน่ จิโกโร่ เป็นผู้สร้างศาสตร์แห่งยูโดมาเมื่อประมาณ 100 กว่าปีมาแล้ว

ถ้าเปรียบเทียบกับศิลปะการต่อสู้ประเภทอื่นๆ ของญี่ปุ่น ความพิเศษของยูโดอยู่ตรงที่ยูโดเป็นศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่นแขนงแรกที่เป็นที่รู้จักและแพร่หลายไปสู่ระดับนานาชาติ และยังเป็นศิลปะการต่อสู้แขนงแรกของญี่ปุ่นที่ได้รับการบรรจุให้เป็นกีฬาประเภทหนึ่งของโอลิมปิกอย่างเป็นทางการ

ประวัติ
คาโน่ จิโกโร่ ( Kano Jigoro) เกิดเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1860 ที่เมืองมิกาเกะ ปัจจุบันกลายเป็นส่วนหนึ่งของเมืองโกเบ เมืองหลวงของจังหวัดเฮียวโงะ ที่ตั้งอยู่ในเขตคันไซ บนเกาะฮอนชูของประเทศญี่ปุ่น บิดาของท่านมีชื่อว่า คาโน่ จิโรซากุ คิเรชิบะ (Kanō Jirosaku Kireshiba) เป็นคนในตระกูลที่กลั่นเหล้าสาเกขายประจาเมืองมิกาเกะ (Mikage) ยี่ห้อเหล้าสาเกที่ตระกูลของท่านผลิตออกมาขายนั้นก็คือยี่ห้อ “ชิโรชิกะ (Shiroshika)” “ฮากุทซึรุ (Hakutsuru)” และ “คิคุ-มาซามูเนะ (Kiku-Masamune)” แต่เนื่องจากว่าบิดาของท่านเป็นเพียงแค่บุตรบุญธรรมของตระกูลนี้ ดังนั้นบิดาของท่านจึงไม่ได้เป็นผู้สืบทอดกิจการกลั่นเหล้าสาเก แต่บิดาของท่านเป็นพระฆราวาสและยังทางานเป็นหัวหน้าเสมียนให้กับบริษัทเดินเรือบริษัทหนึ่ง

คาโน่ จิโกโร่ เป็นบุตรคนที่สามของบิดา ชื่อเล่นของท่านในวัยเด็กคือชนโนสุเกะ (Shinnosuke) และเนื่องจากบิดาของท่านเป็นผู้เห็นความสาคัญของการศึกษา และครอบครัวของท่านก็เป็นครอบครัวที่ร่ารวยครอบครัวหนึ่ง ดังนั้น ท่านคาโน่ จิโกโร่ จึงได้รับการศึกษาเป็นอย่างดี ในเบื้องต้นครูสอนหนังสือของท่านเป็นนักวิชาการด้านขงจื๊อสมัยใหม่ คือยามาโมโตะ ชิกุอัน

ต่อมาเมื่อตอนที่ท่านมีอายุได้เพียง 9 ขวบ มารดาของท่านเสียชีวิตลง บิดาของท่านจึงพาครอบครัวย้ายไปอยู่ที่กรุงโตเกียว และท่านก็ได้เข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนหลายโรงเรียน เช่นโรงเรียนเซอิทัทซุ โชจูกุ (Seitatsu Shojuku) ต่อมาในปี ค.ศ. 1874 เมื่อตอนที่ท่านมีอายุได้ประมาณ 14 ปี บิดาก็ได้ส่งท่านไปเรียนในโรงเรียนเอกชนอีกโรงเรียนที่บริหารโดยชาวต่างชาติมาจากยุโรปชื่อว่าโรงเรียนอิกุเออิ งิจูกุ (Ikuei Gijuku) ทาให้ท่านได้มีโอกาสได้พัฒนาทักษะในการเรียนภาษาต่างประเทศคือภาษาเยอรมันและภาษาอังกฤษกับเจ้าของภาษา

ในเวลานั้น คาโน่ จิโกโร่ เป็นเด็กที่เริ่มโตเป็นหนุ่ม แต่ท่านมีความสูงเพียง 157.48 เซนติเมตร และมีน้าหนักเพียง 40.82 กิโลกรัม ท่านจึงมีความปรารถนาที่จะเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแกร่งมากกว่านี้ วันหนึ่ง ท่านได้รับคาแนะนาจากคนรู้จักของครอบครัวคนหนึ่งชื่อว่านากาอิ ไบเซอิ (Nakai Baisei) ซึ่งเคยเป็นองครักษ์ของโชกุนได้ทาให้ท่านรู้จักกับศิลปะการต่อสู้ที่เรียกว่า “ยูยิตสู” และได้แนะนาว่าศิลปะการต่อสู้ประเภทนี้นั้นเป็นการฝึกร่างกายได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนี้ยังได้สาธิตเทคนิคบางอย่างในการต่อสู้แบบยูยิตสูให้ท่านคาโน่ จิโกโร่ ได้ดู เช่นเทคนิคการต่อสู้ที่ทาให้คนตัวเล็กสามารถล้มคู่ต่อสู้ที่ตัวใหญ่กว่าและมีร่างกายแข็งแกร่งกว่าได้

ด้วยเหตุนี้ คาโน่ จิโกโร่ จึงเกิดความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะฝึกยูยิตสู แต่ถูกนากาอิ ไบเซอิ ทัดทานไว้ โดยให้เหตุผลว่า ณ เวลานั้นยูยิตสูเป็นศิลปะการต่อสู้ที่ล้าสมัยไปแล้วอีกทั้งยังอันตรายอีกด้วย มิหนาซ้าบิดาของท่านก็ไม่เห็นด้วยแต่ได้แนะนาให้ไปฝึกเล่นกีฬาสมัยใหม่แบบอื่นๆ แทน

ในปี ค.ศ. 1877 เมื่อท่านได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย Tokyo Imperial University ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยโตเกียว ท่านได้เริ่มโดยพยายามมองหาครูฝึกที่สอนศิลปะการต่อสู้แบบยูยิตสู ในตอนแรกท่านได้ไปพยายามทาความรู้จักคุ้นเคยและเก็บข้อมูลกับหมอจัดกระดูกก่อน สาเหตุที่ทาเช่นนี้ก็เนื่องจากท่านคิดว่าพวกหมอจัดกระดูกเหล่านี้น่าจะรู้ว่าใครคือครูสอนศิลปะการต่อสู้ที่ดีที่สุด จนท่านได้ไปพบกับยากิ เทอิโนซูเกะ (Yagi Teinosuke) ซึ่งเคยเป็นนักเรียนในสานักเทนจินชินโยเรียว (Tenjin Shin'yō-ryū) ที่เป็นสานักสอนยูยิตสูดั้งเดิมสานักหนึ่ง แล้วบุคคลผู้นี้ก็นาให้คาโน่ จิโกโร่ ไปเรียนยูยิตสูกับฟูกุดะ ฮาชิโนสุเกะ (Fukuda Hachinosuke) ซึ่งเป็นหมอจัดกระดูกและสอนยูยิตสูตามแบบสานักเทนจินชินโยเรียว

วิธีการฝึกกับครูสอนผู้นี้มีวิธีการฝึกที่ยาก เนื่องจากครูสอนผู้นี้จะให้ลูกศิษย์พยายามล้มคู่ต้อสู้ที่เป็นครูและศิษย์รุ่นพี่ให้ได้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งลูกศิษย์ผู้นั้นเริ่มที่จะเข้าใจรายละเอียดของเทคนิคการต่อสู้ โดยในตอนแรกเขาจะอธิบายเทคนิคให้ลูกศิษย์ที่เริ่มเรียนอย่างสั้นๆ คร่าวๆ ก่อน แล้วจากนั้นก็ให้ลูกศิษย์ฝึกเองเพื่อที่จะต้องการให้ลูกศิษย์ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ แล้วหลังจากที่ลูกศิษย์เริ่มเก่งกล้าขึ้นมาจึงค่อยสอนยูยิตสูแบบดั้งเดิมให้ ด้วยวิธีการสอนแบบนี้จึงทาให้คาโน่ จิโกโร่ ต้องพยายามล้มคู่ต่อสู้ให้ได้ก่อน อุปสรรคที่ท่านพบคือการที่ท่านไม่สามารถโค่นล้มคู่ต่อสู้ที่เป็นศิษย์รุ่นพี่ของท่านได้เลย

ดังนั้น ท่านจึงพยายามนาเอาเทคนิคแปลกๆ ใหม่ๆ มาลองใช้กับคู่ต่อสู้ เทคนิคแรกที่ท่านลองนาเอามาใช้คือเทคนิคที่เอามาจากซูโม่ แต่ก็ปรากฏว่าก็ยังล้มศิษย์รุ่นพี่ไม่ได้เหมือนเดิม จึงทาให้ท่านต้องพยายามค้นคว้าหาข้อมูลมากขึ้น ท่านจึงได้นาเทคนิคที่เรียนรู้มาจากหนังสือเกี่ยวกับมวยปล้าตะวันตกมาประยุกต์ใช้ และปรากฎว่าผลคราวนี้เทคนิคนี้ทาให้ท่านโค่นคู่ต่อสู้ได้สาเร็จ และต่อมาท่านได้พัฒนาเทคนิคนี้ให้กลายเป็นองค์ประกอบสาคัญของเทคนิคยูโด เรียกว่า “คาตากุรุมะ” (kataguruma) หรือเรียกอีกอย่างว่า “shoulder wheel” ซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่งในการทุ่มคู่ต่อสู้

ในวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1879 ท่านได้เข้าร่วมสาธิตการต่อสู้แบบยูยิตสูให้ประธานาธิบดียูลิซิส เอส แกรนท์ (Ulysses S. Grant) แห่งสหรัฐอเมริกาได้ชม ในการต้อนรับขับสู้ในครั้งที่ประธานาธิบดีคนที่ 18 ของสหรัฐอเมริกาได้เดินทางมาเยือน การสาธิตครั้งนี้จัดขึ้นภายในบ้านของชิบูซาว่า เออิจิ (Shibusawa Eiichi) ซึ่งเป็นนักธุรกิจคนสาคัญของญี่ปุ่น นอกจากบุคคลสาคัญที่มาร่วมแล้วยังมีเหล่าปรมาจารย์ครูผู้สอนยูยิตสูมาร่วมด้วย

โชคร้ายที่ ฟูกุดะ ฮาชิโนสุเกะ อาจารย์ของท่านได้เสียชีวิตลงด้วยวัย 52 ปี เสียชีวิตหลังจากงานการสาธิตนั้นได้ไม่นาน ดังนั้นท่านคาโน่ จิโกโร่ จึงได้ไปเรียนยูยิตสูกับ อิโซ มาซาโทโมะ แทน อาจารย์ผู้นี้มีอายุถึง 62 ปีและสูงเพียง 152 เซนติเมตรเท่านั้น แต่การฝึกยูยิตสูกลับทาให้ท่านเป็นชายชราร่างเล็กที่แข็งแกร่งมาก และด้วยความที่ท่านคาโน่ จิโกโร่ ผ่านการเรียนมาจากอาจารย์เดิมผู้ล่วงลับมาอย่างเข้มข้นจึงทาให้ท่านมีพื้นฐานในยูยิตสูเป็นอย่างดี ดังนั้น หลังจากที่มาฝึกกับอาจารย์ใหม่ผู้นี้ได้ไม่นาน ท่านก็ได้กลายเป็นผู้ช่วยอาจารย์ประจาสานักนี้

ในตอนที่คาโน่ จิโกโร่ ยังอยู่ในสานักของ อิโซ มาซาโทโมะ นั้น ท่านได้มีโอกาสชมการสาธิตยูยิตสูโดยอาจารย์โตทซึกะ ฮิโกซูเกะ (Totsuka Hikosuke) ซึ่งเป็นอาจารย์สอนยูยิตสูจากสานักในสายโยชินเรียว (Yōshin-ryū) และท่านยังมีโอกาสได้ฝึกซ้อมกับนักเรียนในสานักนี้อีกด้วย ท่านรู้สึกประทับใจกับยูยิตสูในสานักนี้มากเพราะทาให้ท่านได้ตระหนักว่าท่านไม่สามารถล้มคู่ต่อสู่ที่เก่งกาจได้จากแค่การฝึกหนักกว่าเดิมเพียงอย่างเดียว แต่ท่านจาเป็นต้องฝึกด้วยวิธีการที่ฉลาดกว่าเดิมด้วย จากประสบการณ์นี้ทาให้ท่านเชื่อว่า การที่จะเป็นผู้ต่อสู้ผู้ไร้เทียมทานได้นั้นจาเป็นจะต้องผสมผสานเทคนิคการต่อสู้ยูยิตสูที่ดีที่สุดจากสานักต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน

และในปี ค.ศ. 1881 ขณะนั้นคาโน่ จิโกโร่ มีอายุได้ 21 ปี ท่านได้รับใบอนุญาตให้สอนยูยิตสูในสายเทนจินชินโยเรียวได้ และในปีนั้นยังเป็นปีที่ อิโซ มาซาโทโมะ อาจารย์ของท่านเสียชีวิตลง หลังจากนั้น คาโน่ จิโกโร่จึงเริ่มต้นเรียนยูยิตสูในฝ่ายของสานักคิโตเรียว (Kitō-ryū) กับ อิคุโบ ทซูเนโตชิ (Iikubo Tsunetoshi) อาจารย์ผู้นี้เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเคลื่อนไหวและการทุ่ม โดยคาโน่ จิโกโร่ ตั้งใจฝึกฝนและเรียนรู้ศิลปะการต่อสู้แบบยูยิตสูจากสานักนี้อย่างเข้มข้นเนื่องจากท่านเชื่อว่าเทคนิคการทุ่มของสานักนี้นั้นดีกว่าสานักอื่นๆ ที่ท่านได้เล่าเรียนมาก่อน

ในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 1881 คาโน่ จิโกโร่ ได้เปิดสอนสานักศิลปะการต่อสู้แบบยูยิตสูขึ้นมา ซึ่งในตอนแรกนั้น การสอนยูยิตสูของท่านยังไม่มีความแตกต่างจากสิ่งที่ท่านได้เรียนรู้มาจากเหล่าอาจารย์ที่เคยสอนท่านมา และอาจารย์ของท่านอย่าง อิคุโบ ทซูเนโตชิ ยังมาที่สานักของท่านประมาณ 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์เพื่อช่วยเหลือในด้านการสอนให้กับท่าน แต่ต่อมา ในช่วงที่ท่านและอาจารย์ผู้นี้ได้ฝึกต่อสู้กันในตอนหลังๆ ปรากฎว่าคาโน่ จิโกโร่ เริ่มเอาชนะ อิคุโบ ทซูเนโตชิ อาจารย์ของท่านเองได้บ่อยมากขึ้นเรื่อยๆ และทาให้อาจารย์ของท่านรู้สึกประหลาดใจมาก ทั้งนี้เนื่องจากท่านได้พยายามศึกษาและค้นหาวิธีทางที่ในการศึกษาท่าทางและการเคลื่อนไหวของคู่ต่อสู้ และผลลัพธ์ก็คือเทคนิคที่พยายามตัดการเคลื่อนไหวของคู่ต่อสู้ก่อนที่จะเคลื่อนตัวเจ้าไปทุ่มและเมื่อคาโน่ จิโกโร่ สามารถเอาชนะอาจารย์ของตัวเองได้ อาจารย์ของท่านก็ไม่มีอะไรจะสอนอีก จึงเปิดเผยศาสตร์ลับของการต่อสู้ยูยิตสูของสานักคิโตเรียว และยังมอบตาราและคู่มือทั้งหมดที่มีของสานักให้กับท่านอีกด้วย

หลังจากนั้น คาโน่ จิโกโร่ จึงได้สถาปนาศิลปะการต่อสู้แบบใหม่ของตัวเองขึ้นมา โดยให้ชื่อว่า “ยูโด” ขึ้นมา โดยท่านได้ผสมผสานเทคนิคที่ท่านเรียนรู้มาจากการต่อสู้แบบยูยิตสูจากสานักต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ท่านนาเทคนิคการทุ่มมาจากสานักคิโตเรียว และนาเทคนิคการจับยึดและการล็อกคู่ต่อสู้ให้หยุดการเคลื่อนไหวมาจากสานักเทนจินชินโยเรียว ดังนั้น ยูโดในตอนแรกจึงเป็นเทคนิคแบบผสมผสานที่หยิบยืมข้อดีจากสานักต่างๆ มารวมเข้าไว้กับเทคนิคที่ คาโน่ จิโกโร่ คิดค้นขึ้นเองด้วย และด้วยเหตุนี้ ยูโดจึงกลายเป็นศิลปะการต่อสู้แขนงใหม่ที่เป็นระบบการต่อสู้ทางร่างกายรวมกับการฝึกฝนทางจิตใจเพื่อการเอาชนะคู่ต่อสู้

เมื่อมีการริเริ่มขึ้นต่อไปก็คือการพัฒนา คาโน่ จิโกโร่ ในแรกเริ่มต้องพยายามทาให้ยูโดเป็นที่ยอมรับในวงกว้างให้ได้ และท่านก็ได้ก่อตั้งสถาบันโคโดกัน (The Kodokan Institute) ขึ้นมาในปี ค.ศ. 1882 โดนเมื่อตอนเริ่มต้นมีลูกศิษย์ลูกหามาสมัครเรียนเพียงแค่ไม่กี่คนในปีที่เปิดเป็นปีแรก และตัวเลขของนักเรียนก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ มากกว่าพันคนในอีกเกือบ 30 ปีต่อมา โดยในตอนแรกสานักของท่านได้ทาการฝึกสอนกันในพื้นที่ที่เป็นส่วนหนึ่งของวัด นักเรียนที่มาเรียนกับท่านนั้นมีจานวนน้อยนิด แต่เด็กนักเรียนเหล่านี้ก็ได้เริ่มสร้างชื่อให้กับสานักเมื่อพวกเขาได้ลงแข่งยูยิตสูกับทีมของตารวจ และการลงแข่งเป็นประจากับทีมตารวจนี้ยังช่วยให้พวกเขาได้พัฒนาเทคนิคการต่อสู้อีกด้วย

ในปี ค.ศ. 1886 ตารวจนครบาลแห่งโตเกียวจัดการแข่งขันระหว่างนักยูโดของโคโดกัน และนักยูยิตสูของสานักต่างๆ จากการแข่งขัน 15 ครั้ง นักยูโดของสานักโคโดกันชนะถึง 13 ครั้ง จึงทาให้ยูโดของโคโดกันได้รับการรับรองว่ามีประสิทธิภาพมากกว่ายูยิตสูของสานักอื่นๆ) พอมาในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1890 ก็ได้มีการเพิ่มเนื้อที่ของสานักให้มากกว่าเดิม จนกระทั่งในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 1893 จึงได้ย้ายสานักไปตั้งอยู่บนพื้นที่ใหม่ที่กว้างขวางกว่าเดิม

ปลายทศวรรษที่ 1890 สถาบันโคโดกันก็เติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปี ค.ศ. 1909 ก็ได้ทาการรวมสถาบันโคโดกันเข้าไว้ด้วยกันในรูปบริษัท โดยมีเงินทุนจานวน 10,000 เยน และท่านก็ได้ย้ายสถาบันอีกครั้งในปี ค.ศ. 1934 การย้ายคราวนี้ยิ่งใหญ่กว่าการย้ายคราวก่อนๆ เพราะในพิธีเปิดมีเอกอัครราชทูตจากประเทศต่างๆ เช่น เบลเยี่ยม อิตาลี่ และอัฟกานิสภาน มาร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีเปิดด้วย ในการก่อร่างสร้างรากฐานให้กับศิลปะการต่อสู้ประเภทนี้ นอกจากการรวบรวมประดิษฐ์คิดค้นเทคนิคการต่อสู้ และการก่อตั้งสถาบันแล้ว คาโน่ จิโกโร่ ได้วางระบบต่างๆ ให้กับยูโดอีกด้วย เช่น การนาระบบสายคาดเอวมาใช้ และยังใช้ระดับที่เรียกว่า “ดั้ง” เพื่อบ่งบอกถึงระดับระหว่างผู้ที่ใช้ศิลปะป้องกันตัวประเภทนี้

วันที่ 18 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1888 คาโน่ จิโกโร่ ได้เป็นผู้ร่วมบรรยายเกี่ยวกับเรื่องยูยิตสูให้แก่สถาบันเอเชียแห่งญี่ปุ่น โดยบรรยายถึงหลักการสาคัญของยูโดที่เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งชัยชนะและการได้มาซึ่งความแข็งแกร่ง ศิลปะการต่อสู้ที่ท่านคิดค้นขึ้นมาจึงมีอุดมการณ์และปรัชญาอยู่ในนั้นด้วย ยูโดคือศิลปะการต่อสู้ที่รวมการต่อสู้เพื่อป้องกันตัวเองเข้าไว้กันกับแบบแผนทางร่างกายและพฤติกรรมทางศีลธรรม

คาโน่ จิโกโร่ ได้แยกยูโดออกเป็น 3 ส่วน คือ การฝึกฝนทางร่างกาย ศิลปะป้องกันตัว และ การปลูกฝังในเรื่องของปัญญาและคุณงามความดีรวมไปถึงการศึกษาและการประยุกต์ใช้หลักการของยูโดในชีวิตประจาวัน

นอกจากนี้คาโน่ จิโกโร่ ได้บรรยายถึงอุดมการณ์ ลักษณะ และนิยามของยูโดไว้หลายครั้ง และในช่วงเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1922 ในครั้งที่มีการก่อตั้ง Kodokan Cultural Association ขึ้นมา คติพจน์ประจาสมาคมยูโด คือ “Maximum Efficiency with Minimum Effort” และ “Mutual Welfare and Benefit”

เมื่อตอนที่ท่านเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ท่านได้เรียนในแขนงวิชาวรรณคดี การเมือง และเศรษฐกิจการเมือง ครอบครัวของท่านได้คาดหวังว่าเมื่อจบไปแล้วท่านจะได้ทางานในกระทรวงบางกระทรวงของรัฐบาล เพราะมีเพื่อนของบิดาของท่านเป็นบุคคลที่มีอิทธิพล ท่านจึงได้รับการเสนอให้ทางานในกระทรวงการคลัง แต่ด้วยความที่ท่านมีใจรักในการสอนหนังสือท่านจึงปฏิเสธและเลือกที่จะเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนกากุชูอิน ที่กรุงโตเกียว แทน

พอมาในปี ค.ศ. 1883 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ประจาวิทยาลัยเกษตรโคมาบะ แต่พอมาในช่วงเมษายน ปี ค.ศ. 1885 ท่านก็ย้ายกลับมารับตาแหน่งอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนกากุชูอิน

คาโน่ จิโกโร่ แต่งงานเมื่อปี ค.ศ. 1891 เมื่อตอนที่ท่านมีอายุได้ 31 ปี ภริยาของท่านมีชื่อว่า สุมาโกะ ทาเกโซเอะ (Sumako Takezoe) ซึ่งเป็นบุตรสาวของอดีตเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจาเกาหลี โดยท่านมีบุตรหญิงชายทั้งหมด 9 คน เป็นหญิง 6 คน เป็นชาย 3 คน

นอกจากการเป็นนักการศึกษาแล้ว ท่านยังเป็นคนญี่ปุ่นที่เป็นผู้บุกเบิกในกีฬาระดับนานาชาติ ที่สาคัญที่สุดคือการเป็นคนเอเชียคนแรกที่ได้เป็นสมาชิกของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee: IOC) ในช่วงปี ค.ศ. 1909 จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1938 นอกจากนี้ในปี ค.ศ. 1912 ท่านได้ก่อตั้งสมาคมนักกีฬาสมัครเล่นญี่ปุ่น (Japan Amateur Athletic Association) ขึ้นมา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทาหน้าที่ดูแลกีฬาสมัครเล่นในญี่ปุ่น

นอกจากนี้ ท่านยังเป็นตัวแทนของคนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการในการเข้าร่วมการจัดงานกีฬาโอลิมปิกที่จัดขึ้นที่กรุงสต็อกโฮล์มส์ในปี ค.ศ. 1912 และที่กรุงเบอร์ลินเมื่อปี ค.ศ. 1936, มีส่วนร่วมในการจัดงาน Far Eastern Championship Games (ต่อมาได้พัฒนาเป็นเอเชี่ยนเกมส์) ที่จัดขึ้นในปี ค.ศ. 1917 และท่านยังทาหน้าที่เป็นหัวหน้าโฆษกของญี่ปุ่นในการหาเสียงให้เลือกญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพในการจัดกีฬาโอลิมปิกประจำปี ค.ศ. 1940 อีกด้วย

ด้วยคุณูปการอันมากมายที่มีต่อวงการศึกษาและวงการกีฬาของญี่ปุ่น คาโน่ จิโกโร่ จึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จานวนมาก

ในปี ค.ศ. 1934 คาโน่ จิโกโร่ ก็ยุติการออกงานต่างๆ เนื่องจากปัญหาเรื่องสุขภาพ แต่ท่านก็ยังพยายามเข้าร่วมรายการสาคัญๆ ของยูโดเท่าที่จะทาได้และยังพยายามทางานเกี่ยวกับด้านโอลิมปิกอยู่ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1938 ท่านเสียชีวิตขณะที่โดยสารอยู่บนเรือฮิคาวะ มารุ (Hikawa Maru) เนื่องจากอาการป่วยของโรคปอดบวม ด้วยวัย 77 ปี แต่บางแหล่งข่าวก็บอกว่าท่านเสียชีวิตจากการถูกลอบวางยาพิษในอาหาร ถึงแม้จะไม่มีหลักฐานยืนยันในข้อสันนิษฐานเรื่องการลอบวางยาพิษนี้ แต่เป็นที่รู้กันว่าท่านเป็นผู้หนึ่งที่ต่อต้านลัทธิทหารนิยมในญี่ปุ่น (ลัทธิทหารนิยมนามาซึ่งการที่ญี่ปุ่นรุกรานประเทศอื่นๆ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง) และหลายคนที่ต่อต้านทหารนิยมนี้ต่างถูกลอบสังหารไป

ถึงแม้ ค่าโน่ จิโกโร่ จะลาจากโลกนี้ไปแล้ว แต่ศิลปะการต่อสู้ที่เรียกว่ายูโดไม่ได้สูญหายไป แต่กลับกลายเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมทั่วโลก ในปี ค.ศ. 1964 ยูโดกลายเป็นกีฬาที่บรรจุให้มีการแข่งขันในระดับโอลิมปิกเมื่อคราวที่จัดโอลิมปิกที่กรุงโตเกียว และคากล่าวเกี่ยวกับการศึกษาของท่านก็ยังเป็นที่จดจาว่า “ภายใต้พระอาทิตย์ไม่มีอะไรที่จะสาคัญไปกว่าการศึกษาอีกแล้ว - Nothing under the sun is greater than education.”

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาสายตา

วิธีติดตั้ง V-Ray for SketchUp 8 (V-Ray 1.48.89)