ประกาศตัวแปรในภาษา C#
เมื่อเขียน program เราก็ต้องมีการรับข้อมูลจากผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น เราอาจเขียน program บวกเลข 2 ตัว
จึงต้องมีอะไรบางอย่างที่ไว้เก็บเลขสองตัวนี้ นำสิ่งที่เก็บเลขสองตัวนี้มาทำการบวกกัน แล้วก็ส่งผลลัพธ์กลับไปให้ผู้ใช้ สิ่งที่ไว้เก็บค่าที่ผู้ใช้ส่งมาก็คือตัวแปร (variable)
ดังนั้นตัวแปรจึงหมายถึง สิ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้เก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้ประมวลผลภายในโปรแกรม
การจะเรียกใช้งานตัวแปรภายในโปรแกรมต้องมีการประกาศตัวแปรเอาไว้ก่อน
เนื่อง จากภาษา C# เป็นภาษาที่ strongly type คือมีความเข้มงวดเรื่องของประเภทข้อมูล เมื่อจะประกาศตัวแปรจึงต้องบอกด้วยว่าตัวแปรที่เราประกาศขึ้นมาเอาไว้เก็บ ข้อมูลประเภทใด
รูปแบบการปะกาศตัวแปรของ C# จึงเป็นดังนี้
ประเภทของข้อมูล ชื่อตัวแปร;
ประเภทของข้อมูล(data type) หมายถึง ประเภทของข้อมูลที่ตัวแปรสามารถเก็บได้
ชื่อตัวแปร (varible name) ชื่อตัวแปรที่เราประกาศขึ้นมาเพื่อเก็บข้อมูล ชื่อตัวแปรนี้จะถูกนำไปใช้ต่อในโปรแกรม
เครื่อง หมาย ; เป็นการบอกว่าเป็นการจบประโยคคำสั่ง หากไม่มี compiler หรือตัวแปรภาษาของ C# จะแจ้งข้อความผิดพลาดขึ้นมาและโปรแกรมก็ไม่สามารถทำงานได้
ผมจะขอยกตัวอย่างการสร้างตัวแปรขึ้นมาใช้งาน เช่น ผมต้องการที่จะสร้างตัวแปรขึ้นมาหนึ่งตัวเพื่อเก็บจำนวนเต็ม
ประโยคคำสั่ง C# ก็จะเป็นดังนี้
int number;
int คือ ประเภทของข้อมูลที่ C# มีมาให้ เป็นประเภทข้อมูลจำนวนเต็ม ที่สามารถเก็บค่าที่อยู่ในช่วง -2,147,483,648 ถึง 2,147,483,647
number คือชื่อตัวแปรที่ไว้เก็บข้อมูลประเภท int
เพื่อความเข้าใจในการประกาศตัวแปรและนำมาใช้งานได้อย่างถูกต้องจึงมีสองประเด็นที่เราต้องรู้คือ
ประเภทของข้อมูลที่ C# มีมาให้ เพื่อที่จะได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับข้อมูลที่จะเก็บไว้ในตัวแปร
หลักการตั้งชื่อตัวแปร
ประเภทข้อมูลที่ C# มีมาให้
หลักการตั้งชื่อตัวแปรใน C#
ห้ามนำคำสงวน (reserved word) ชื่อที่ C# ได้นำไปใช้แล้ว เช่น if, for มาตั้งเป็นชื่อตัวแปร
ชื่อตัวแปรจะต้องขึ้นต้นด้วย ตัวอักษรภาษาอังกฤษ อักขระพิเศษ @ และ _ (underscore) เท่านั้น
ตัวแปรจะต้องไม่ขึ้นต้นด้วยตัวเลข เช่น 10number ถือว่าเป็นชื่อตัวแปรที่ไม่ถูกต้อง
ชื่อตัวแปรจะต้องไม่ประกอบไปด้วยอักษรพิเศษทุกชนิด (เครื่องหมาย /, +, -, *, %, !)
ตัวอักษรใหญ่และเล็กจะถือว่าไม่เหมือนกัน (Case Sensitive) เช่น mVar, MVAR ถือว่าเป็นคนละตัวแปร
ไม่ควรใช้ชื่อยาวเกินไป และควรตั้งให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ เช่น ตัวแปรชื่อจริงควรตั้งว่า FirstName เป็นต้น
Credit:
http://en.wikibooks.org/wiki/C_Sharp_Programming/Variables
http://codesanook.com/article/details/ประกาศตัวแปรในภาษา-C%23
ชื่อประเภทข้อมูล
|
signed
|
หน่วยความจำที่ใช้ byte (1 byte = 8bit)
|
ช่วงข้อมูลที่เก็บได้
|
bype
|
no
|
1
|
0 - 255
|
sbyte
|
yes
|
1
|
-128 ถึง 127
|
short
|
yes
|
2
|
-32,768 ถึง 32,767
|
ushort
|
no
|
2
|
0 ถึง 65,535
|
int
|
yes
|
4
|
-2,147,483,648 ถึง 2,147,483,647
|
uint
|
no
|
4
|
0 ถึง 4294967295
|
long
|
yes
|
8
|
-9,223,372,036,854,775,808 .. 9,223,372,036,854,775,807
|
ulong
|
no
|
8
|
0 ถึง 18,446,744,073,709,551,615
|
float
|
yes
|
4
|
–1.5x10^-45 to 3.4 x 10^38
|
double
|
yes
|
8
|
–5.0x10^-324 to 1.7^10308
|
decimal
|
no
|
16
|
1.0x10-28 to 7.9x1028
|
char
|
2
|
ตัวอักษร 1 ตัว
| |
string
|
ข้อความความ
| ||
bool
|
1
|
true หรือ false
| |
object
|
เก็บได้ทุกอย่าง
|
affg
ตอบลบbnvfnj
ตอบลบ