ทฤษฎีหน้าต่างแตก (Broken Window theory)
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ กรณีของนครนิวยอร์ก ตอนที่ รูดอล์ฟ จูเลียนี่ นายกเทศมนตรีคนใหม่ และ บิล แบรทตัน กรรมาธิการตำรวจที่เขาแต่งตั้งกับมือ ได้ปฏิญาณตนว่าจะเข้ามาแก้ไขปัญหาอาชญากรรม แบรทตันได้นำสิ่งแปลกใหม่เข้ามาสู่องค์กรตำรวจ เขาผลักดันกรมตำรวจนิวยอร์กจนกลายเป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจอาวุโสคนหนึ่งเรียกในภายหลังว่า "ยุคเอเธนส์โบราณ" ซึ่งให้ความสำคัญกับแนวความคิดใหม่ๆ มากกว่าแนวปฏิบัติที่ได้รับการยอมรับมาเนิ่นนาน แทนที่จะมัวแต่เอาใจผู้ใต้บังคับบัญชา แบรทตันกลับเรียกร้องความรับผิดชอบจากพวกเขาแทน แทนที่จะยึดติดแต่กับความชำนาญและประสบการณ์ของตำรวจ เขากลับนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยงาน ตัวอย่างเช่น คอมพ์สแตท ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยวิเคราะห์และกำหนดพื้นที่ที่มีแนวโน้มที่จะเกิดอาชญากรรม
แนวคิดใหม่ที่น่าสนใจที่สุดที่แบรทตันนำมาใช้มีรากฐานมาจากทฤษฎีหน้าต่างแตก (Broken Window theory) ซี่งนำเสนอเป็นครั้งแรกโดยสองผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญากรรมเจมส์ คิว. วิลสัน และจอร์ซ เคลลิ่ง ทฤษฎีดังกล่าวระบุว่า ปัญหาเพียงเล็กน้อย ถ้าไม่ได้ตรวจสอบ นานวันเข้าก็อาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ กล่าวคือ ถ้าใครสักคนทำหน้าต่างบานหนึ่งแตก และมองเห็นว่าหน้าต่างบานนั้นไม่ได้รับการซ่อมแซมอย่างรวดเร็ว นั่นย่อมเป็นการส่งสัญญาณบอกเขาคนนั้นว่า การทำหน้าต่างที่เหลือให้แตกตามไปด้วยนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ และบางทีเขาอาจเผาตึกทั้งหลังตามไปด้วยก็ได้
ดังนั้น ด้วยสภาพที่มีคดีฆาตกรรมเกิดขึ้นอย่างมากมาย พลพรรคตำรวจของบิล แบรทตัน จึงเริ่มใช้มาตรการทางตำรวจกับเรื่องที่ไม่เคยกวดขันมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการกระโดดข้ามรั้วเหล็กที่กั้นบริเวณทางเข้ารถไฟใต้ดิน การแบมือขอเงินแบบไม่สุภาพ การยืนปัสสาวะริมถนน การนำไม้ถูกระจกอันแสนโสโครกมาเช็ดกระจกรถยนต์ถ้าคนขับไม่ยอม "บริจาคเงิน" ในจำนวนที่มากพอ
ชาวนิวยอร์กส่วนใหญ่ชอบสิ่งที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะแนวความคิดที่ได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังจากแบรทตันและจูเลียนี่ที่ว่า การขัดขวางการก่ออาชญากรรมเล็กๆ น้อยๆเหล่านี้ก็เปรียบได้กับการปิดกั้นท่อน้ำเลี้ยงของเหล่าอาชญากร คนที่กระโดดข้ามแผลเหล็กกั้นทางเดินในวันนี้อาจจะเป็นฆาตกรที่เพิ่งก่อคดีมาเมื่อวานนี้ ส่วนคนจรจัดที่ปัสสาวะบนทางเท้าอาจจะกำลังไปปล้นบ้านใครสักคนก็เป็นได้
ที่มา: Freakonomics (เศรษฐพิลึก) 172-173
แนวคิดใหม่ที่น่าสนใจที่สุดที่แบรทตันนำมาใช้มีรากฐานมาจากทฤษฎีหน้าต่างแตก (Broken Window theory) ซี่งนำเสนอเป็นครั้งแรกโดยสองผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญากรรมเจมส์ คิว. วิลสัน และจอร์ซ เคลลิ่ง ทฤษฎีดังกล่าวระบุว่า ปัญหาเพียงเล็กน้อย ถ้าไม่ได้ตรวจสอบ นานวันเข้าก็อาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ กล่าวคือ ถ้าใครสักคนทำหน้าต่างบานหนึ่งแตก และมองเห็นว่าหน้าต่างบานนั้นไม่ได้รับการซ่อมแซมอย่างรวดเร็ว นั่นย่อมเป็นการส่งสัญญาณบอกเขาคนนั้นว่า การทำหน้าต่างที่เหลือให้แตกตามไปด้วยนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ และบางทีเขาอาจเผาตึกทั้งหลังตามไปด้วยก็ได้
ดังนั้น ด้วยสภาพที่มีคดีฆาตกรรมเกิดขึ้นอย่างมากมาย พลพรรคตำรวจของบิล แบรทตัน จึงเริ่มใช้มาตรการทางตำรวจกับเรื่องที่ไม่เคยกวดขันมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการกระโดดข้ามรั้วเหล็กที่กั้นบริเวณทางเข้ารถไฟใต้ดิน การแบมือขอเงินแบบไม่สุภาพ การยืนปัสสาวะริมถนน การนำไม้ถูกระจกอันแสนโสโครกมาเช็ดกระจกรถยนต์ถ้าคนขับไม่ยอม "บริจาคเงิน" ในจำนวนที่มากพอ
ชาวนิวยอร์กส่วนใหญ่ชอบสิ่งที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะแนวความคิดที่ได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังจากแบรทตันและจูเลียนี่ที่ว่า การขัดขวางการก่ออาชญากรรมเล็กๆ น้อยๆเหล่านี้ก็เปรียบได้กับการปิดกั้นท่อน้ำเลี้ยงของเหล่าอาชญากร คนที่กระโดดข้ามแผลเหล็กกั้นทางเดินในวันนี้อาจจะเป็นฆาตกรที่เพิ่งก่อคดีมาเมื่อวานนี้ ส่วนคนจรจัดที่ปัสสาวะบนทางเท้าอาจจะกำลังไปปล้นบ้านใครสักคนก็เป็นได้
ที่มา: Freakonomics (เศรษฐพิลึก) 172-173
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น