5 ขั้นตอนฝึกสมาธิง่ายนิดเดียว

5 ขั้นตอนฝึกสมาธิง่ายนิดเดียว
พวกเราทุกคนรู้ดีว่าการมีสมาธิที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเราทำงานโดยไม่มีสมาธิเราก็ไม่สามารถทำงานนั้นออกมาได้ดี

ยิ่งถ้าเป็นงานที่มีความละเอียดซับซ้อนการมีสมาธิอยู่กับงานจะยิ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก บทความนี้จะช่วยคุณให้สามารถพัฒนาสมาธิได้อย่างง่าย ๆ เืพื่อให้สามารถเรียนรู้ และทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1. ทำทีละอย่าง และตั้งเวลาในการทำแต่ละอย่างให้ชัดเจน

การทำงานทีละอย่างจะช่วยคุณในเรื่องสมาธิได้มากทีเดียว ดังคำที่กล่าวว่า จับปลาสองมือ หลาย ๆ ครั้งการทำทีละหลาย ๆ อย่างทำให้เราไม่สามารถทำได้ดีซักอย่าง แต่ไม่ได้หมายความว่านักธุรกิจคนหนึ่งจะไม่สามารถทำธุรกิจหลายๆ อย่างได้นะครับ หรือไม่ได้หมายความว่าคนทำงานบริษัทไม่ควรมีความรับผิดชอบหลายอย่าง แต่หมายความว่าเวลาทำงาน หรือทำอะไรก็ตามเราควรทำทีละอย่างในช่วงเวลานั้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน และเพื่อฝึกสมองของเราให้สามารถพุ่งความสนใจไปในสิ่ง ๆ เดียวได้ ซึ่งเปรียบเสมือนกันใช้แว่นขยายกับแสงอาทิตย์ที่เมื่อสามารถรวมจุดโฟกัสของแสงอาทิตย์ด้วยแว่นขยาย และรวมแสดงอาทิตย์นั้นไปยังกระดาษแผ่นหนึ่ง ก็จะสามารถทำให้เกิดการไฟลุกไหม้บนกระดาษได้นั่นเอง การรวบรวมสมาธิทำทีละอย่างในช่วงเวลาที่ชัดเจนเปรียบเสมือนการรวมจุดโฟกัสของแสงแดดผ่านแว่นขยายทำให้งานที่เราทำมีประสิทธิภาพ และทรงพลัง

ในการเริ่มต้นทำสิ่งนี้คุณอาจวุ่นวาย หรือยุ่งมากจนไม่สามารถจัดตารางเวลาในแต่ละวันได้อย่างชัดเจน ถ้าอย่างนั้นคุณอาจทำรายการสิ่งที่ต้องทำหรือที่เราเรียกว่า to-do-list ในแต่ละวันขึ้นมา จากนั้นก็ทำการให้คะแนนระดับความสำคัญ แล้วเลือกทำสิ่งที่สำคัญที่สุดก่อน แล้วไล่ทำสิ่งที่สำคัญรองลงไปเป็นลำดับ โดยพยายามพุ่งสมาธิไปทีละอย่างจนกว่างานทั้งหมดทีตั้งวันจะเสร็จ นี่เป็นการฝึกฝนสมาธิที่ดีมาก และยังทำให้คุณสามารถทำงานได้สำเร็จลุล่วงตามความสำคัญของงานได้อีกด้วย

2. ทำทุกสิ่งอย่างเห็นคุณค่า

หลาย ๆ ครั้งการที่เราทำงานอย่างลวก ๆ หรือไม่ค่อยมีสมาธิเกิดจากการที่เราไม่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้น ดังนั้นลองจินตาการว่าคุณมีโอกาสทำสิ่งนั้นเป็นครั้งสุดท้ายของชีวิต ถ้าคิดอย่างนี้แล้วจะเป็นอย่างไร? ยกตัวอย่างเช่นถ้าคุณต้องการอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง ลองคิดว่าวันนี้เป็นวันสุดท้ายที่คุณจะมีโอกาสอ่านหนังสือเล่มนั้น ไม่มีโอกาสที่สอง หรือโอกาสต่อไปอีกแล้ว การคิดว่าทุกสิ่งคือ โอกาสสุดท้าย จะทำให้เราพุ่งความสนใจ และตั้งใจทำสิ่ง ๆ นั้นเป็นพิเศษ

นอกจากแนวคิดเรื่อง โอกาสสุดท้าย แล้วเรายังสามารถสร้างการเห็นคุณค่าการทำสิ่งต่างๆ ได้โดยคิดซะว่าเรากำลังทำสิ่งนั้น เป็นครั้งแรกในชีวิต อะไรก็ตามที่เราหัดทำ หรือทำเป็นครั้งแรกในชีิวิต เราจะมีแนวโน้มที่ให้ความสำคัญกับมันเป็นพิเศษ และตั้งใจทำอย่างมากเพราะเรากลัวผิดพลาด เวลาที่เราเคยชินกับบางสิ่งบางอย่างมากเกินไป เราจะิเริ่มไม่มีสมาธิกับมันเพราะเราทำจนเป็นประจำ และมันกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน แต่ถ้าเราต้องการที่จะมีสมาธิกับสิ่งที่เราทำ เราจำเป็นต้องใส่ความรู้สึกบางอย่างเข้าไปในการทำสิ่งนั้น เพื่อให้เกิดสมาธิมากยิ่งขึ้น และการคิดว่าเราทำสิ่งนั้นเป็นครั้งแรก ก็จะช่วยให้เราตื่นเต้น ตื่นตัว และสนใจในรายละเอียดของการทำสิ่งนั้นมากยิ่งขึ้น

3. ขยายเวลาออกไป

เวลาที่เราต้องทำบางสิ่งบางอย่างติดกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง เราจะเริ่มเบื่อยิ่งถ้าเป็นคนสมาธิสั้นด้วยแล้ว จะยิ่งทำงานติดต่อกันได้อย่างยากเย็นจริง ๆ ยกตัวอย่างเช่นการอ่านหนังสือ ถ้าเป็นคนสมาธิสั้นการใช้เวลาเป็นชั่วโมงเพื่ออ่านหนังสือเล่มหนึ่งให้จบนั้นเป็นเรื่องที่ทรมานอย่างยิ่ง วิธีการที่จะช่วยเรามากยิ่งขึ้นคือการตั้งเวลาที่เราคิดว่าเราสามารถทำได้ เช่นถ้าเราต้องการอ่านหนังสือ ก็อาจตั้งเวลาไว้ว่าจะอ่านหนังสือเป็นเวลา 15 นาที แต่เมื่อจบเวลา 15 นาทีแล้วอย่าพึ่งหยุดอ่านหนังสือ ให้พยายามฝึกตัวเองให้ทำต่อไปอีก โดยอาจคิดในใจว่า อีกซักห้านาทีก็แล้วกัน การทำแบบนี้เปรียบเสมือนการเพาะกล้ามเนื้อของนักเพาะกาย แต่เรากำลังฝึกกล้ามเนื้อสมองส่วนที่สร้างสมาธิ เมื่อเราฝึกขยายเวลาออกไปบ่อย ๆ สมองของเราก็จะสามารถสร้างสมาธิได้ดียิ่งขึ้น แล้วเราจะสามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้นเช่นกัน นอกจากเรื่องเวลาที่ ขยายออก แล้วเราอาจใช้อย่างอื่นในการขยายได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น อ่านหนังสือเพิ่มอีกสิบหน้า, เขียนงานอีกสิบหน้า, หรือทำงานให้เสร็จเพิ่มขึ้นอีกซักสามอย่างในวันนี้ เป็นต้น

เมื่อเราฝึกขยายเวลาออกไปบ่อย ๆ เป็นประจำ จิตใจของเราจะเริ่มมีความแข็งแรงมากขึ้น และสามารถอดทนเพื่อที่จะมีสมาธิได้ดียิ่งขึ้น การมีสมาธินั้นเป็นการฝึกความอดทน ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าคนที่มีสมาธิสั้น เป็นคนที่ขาดความอดทนในการทำสิ่งต่าง ๆ ถ้าเราฝึกความอดทนเพื่ออยู่กับสิ่ง ๆ หนึ่งได้นาน ๆ เราก็จะพัฒนาสมาธิ และการคิดให้เฉียบคมยิ่งขึ้นได้นั่นเอง

4. แตกองค์ประกอบสิ่งที่ต้องทำ

ถ้าคุณเคยอ่านหนังสือเรื่อง eat that frog แ้ล้วล่ะก็คุณจะรู้ว่างานที่ยุ่งยาก และดูเหมือนเป็นไปไม่ได้นั่น สามารถทำได้และในหลายสถานการณ์เราคิดว่ามันยากเกินไป หรือไม่มีวันทำได้ก็เพราะเรามีความคิดแง่ลบ และไม่ได้ลองแตกรายละเอียดองค์ประกอบสิ่งที่ต้องทำออกมาให้ชัดเจน เช่นเดียวกันการฝึกสมาธิของเราสามารถทำดียิ่งขึ้นแน่นอนถ้าแตกรายการสิ่งที่ต้องทำออกมาเป็นสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ

ถ้าเราจะต้องว่ายน้ำเป็นระยะทาง 10 กม. คุณอาจเลือกที่จะว่ายไปทีละ 1 กม. เป็นจำนวน 10 ครั้งก็จะครบจำนวนเช่นกัน แต่ถ้าเราคิดว่า โอยตั้ง 10 กม. ฉันจะว่ายยังไง? แบบนี้เราก็จะไม่ได้เริ่มต้นทำมัน และจบลงทีไม่มีงานอะไรเสร็จเลย หรือแม้จะเสร็จก็เสร็จแบบกระท่อนกระแท่น เพราะเราไม่ได้ใส่ศักยภาพทั้งหมดของเราลงไปในงานนั้น ดังนั้นการแตกองค์ประกอบของสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวันจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ลองเขียนหัวข้อใหญ่ ๆ ของสิ่งที่ต้องการจะทำให้วันนี้ออกมา จากนั้นก็นั่งจดรายการสิ่งที่ต้องทำเป็นขั้นเป็นตอนออกมา จนได้รายละเอียดยิบย่อยต่าง ๆ ที่ชัดเจน แล้วเริ่มต้นทำทีละอย่างเพื่อเก็บ checkpoint ไปทีละขั้น ทำไปเรื่อย ๆ เป้าหมายของคุณย่อมบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการได้แน่นอน ข้อดีของการทำรายละเอียดงาน และแตกองค์ประกอบให้ชัดเจนอีกประการคือ คุณจะรู้สึกว่าทำงานสำเร็จไปแล้วหลายขั้น แม้ว่าเป้าหมายหลักใหญ่ของงานจะยังไม่เสร็จ แต่คุณจะรู้สึกว่า เข้าใกล้เป้าหมายแล้ว เห็นมั้ย เพราะเป้าหมายย่อย ที่รวบเข้าด้วยกันหลายๆย อันก็จะทำให้เป้าหมายใหญ่เราไม่มีทางพลาด หรือหนีไปไหนได้หรอกครับ

5. รู้จักให้รางวัลตัวเอง

ข้อนี้มีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับข้อที่แล้ว กล่าวคือเมื่อเราทำงานแต่ละอย่างสำเร็จ ซึ่งรวมถึงรายละเอียดย่อย ๆ ของงานนั้นด้วย เราควรให้กำลังใจกับตัวเองโดยการให้รางวัลกับตัวเองย รางวัลในที่นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่ใหญ่โต เราอาจให้รางวัลตัวเองง่ายๆ เช่นจิบกาแฟหอมกรุ่นซักหนึ่งถ้วย หรือกินขนมอร่อย ๆ ซักชิ้น ประเด็นสำคัญคือเมื่อสมองของเรารับรู้ว่าการทำ สิ่งนี้ แล้วจะได้รางวัล มันจะพัฒนาตัวมันเองให้สามารถสร้างสมาธิได้ดียิ่งขึ้น เปรียบเสมือนเรากำลังฝึกสัตว์เลี้ยง ถ้ามันสามารถทำตามคำสั่งของเราได้สำเร็จ เราก็ต้องให้รางวัลมัน เป็นต้น

เมื่อสมองของเราเรียนรู้ว่าทำสิ่งไหนแล้วได้รางวัล มันก็จะพยายามสิ่งนั้น โดยธรรมชาติของสมองเรานั้นมักจะพยายามหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด ซึ่งการพยายามทำงานให้สำเร็จลุล่วงแต่ละอย่าง ต้องใช้ความพยายาม และต้องใช้สมาธิ ดังนั้นการฝึกสมาธิอาจเป็นเรื่องทรมานในระยะแรก ๆ และสมองของเราก็จะพยายามหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดโดยการทำให้คุณไปทำอย่างอื่น หรือทำให้คุณไม่มีสมาธิกับการทำงานนั่นเอง ดังนั้นถ้าเราฝึกสมองของเราใหม่ว่าการมีสมาธิเป็นสิ่งที่ดี มีความสุข สนุก ไม่เครียด ไม่มีความเจ็บปวดแต่อย่างใด แต่เป็นความท้าทาย ที่้มีรางวัลที่ชัดเจน ถ้าสามารถทำได้อย่างนี้แล้ว การฝึกให้มีสมาธิและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็เป็นเรื่องที่ไม่ไกลเกินเอื้อมสำหรับทุกย ๆ คน

ลิขสิทธิบทความของ sp-cosmeticsurgery.com

ผู้ให้บริการ Cosmetic Surgery Thailand

(ห้ามเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาติอย่างเป็นทางการ)

ที่มาข้อมูล : www.sp-cosmeticsurgery.com

Credit: http://lifestyle.th.msn.com/health/tips/article.aspx?cp-documentid=4279211

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คาโน่ จิโกโร่ ผู้ก่อตั้งวิชายูโด

ปัญหาสายตา

วิธีติดตั้ง V-Ray for SketchUp 8 (V-Ray 1.48.89)