ปัญหาสายตา
ปัญหาสายตา
1. สายตาสั้น
เป็น ภาวะที่แสงผ่านกระจกตาและเลนส์ตา มาโฟกัสหน้าจอประสาทตา ทำให้ภาพที่ตกบนจอประสาทตาไม่ชัดเจน อาจเกิดจากการที่ดวงตามีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวเกินไป หรือกำลังรวมแสงของกระจกตาและเลนส์มากเกินไป ทำให้แสงที่ผ่านกระจกตาและเลนส์ตา มาโฟกัสหน้าจอประสาทตา ภาพที่เห็นจึงไม่คมชัด การทีจะเห็นได้ชัดเจนต้องใช้เลนส์เว้ากระจายแสงออกเพื่อให้แสงไปตกที่จอ ประสาทตาพอดี
ส่วน การที่มองวัตถุใกล้ได้ชัดเจนโดยไม่ต้องใส่แว่น เนื่องจากแสงจากวัตถุจะไปโฟกัสที่จอประสาทได้พอดี ทำให้มองเห็นชัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความสั้นของตา
อาการของสายตาสั้นและการแก้ไข
1. การมองภาพระยะไกลพร่ามัว
แก้ไขโดย ใช้แว่นสายตา
2. เกิดอาการเพลียตา
แก้ไขโดย ใส่คอนแทคเลนส์หรือการผ่าตัด
สายตาสั้น เป็นปัญหาสายตาที่พบมากที่สุด และมากขึ้นเรื่อยๆ ตามสภาวะการ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ พบมากในประชากรเขตเมืองมากกว่าในชนบท โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในประเทศที่มีขนาดเล็ก ประชากรหนาแน่น และอัตราการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจรุดหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น ประเทศสิงคโปร์ และ ประเทศไต้หวัน
เด็กในเมืองมีการแข่งขันกันสูง ร่ำเรียนเขียนอ่านกันมาก เวลาพักผ่อน ก็มักจะเล่นเกมส์หรือทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หรือไม่ก็ดูโทรทัศน์ ชีวิตส่วนใหญ่ก็อยู่ในห้องแคบๆ ซึ่งล้วนเป็นการใช้สายตาในระยะใกล้และระยะกลาง โอกาสใช้สายตาระยะไกลมีน้อยมาก ดังนั้น กล้ามเนื้อวงแหวน ( Ciliary muscle ) จึงถูกใช้งานเกือบตลอดเวลา การหดเกร็งของกล้ามเนื้อวงแหวน ทำให้การเจริญเติบโตของลูกตา มีรูปร่างออกไปในแนวยาว ซึ่งเป็นลักษณะของลูกตาที่ทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นนั่นเอง
พันธุกรรม มีส่วนทำให้เกิดปัญหาสายตา เพราะว่า ยีน จะเป็นตัวกำหนดรูปร่างของลูกตา ให้สั้น ( สายตายาว ) หรือ ให้ยาว ( สายตาสั้น )
การสวมแว่นตา มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภาวะสายตา ดังนี้
1. คนสายตาสั้น ใส่แว่นตาเลนส์เว้า เพื่อจุดประสงค์ในการมองระยะไกลให้ชัดเจนเหมือนคนปกติ
2. คนสายตาสั้นที่ใส่แว่นอยู่แล้ว เวลามองใกล้ กล้ามเนื้อวงแหวน ( Ciliary muscle ) จะต้องหดเกร็งเพื่อโฟกัสภาพให้ชัดเจนเหมือนคนสายตาปกติ แต่ถ้าถอดแว่นออก เวลามองใกล้ กล้ามเนื้อวงแหวนจะหดเกร็งน้อยกว่าคนสายตาปกติ ทำให้มองไม่ชัด
3. คนสายตาสั้น ต้องการใส่แว่นตาเวลาที่ ต้องการมองในระยะไกลเท่านั้น การอ่านหรือเขียนหนังสือ ไม่มีความจำเป็นต้องใส่แว่นแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม การใส่แว่นอ่านหรือเขียนหนังสือ กลับทำให้สายตาสั้นมากและเร็วขึ้น
การป้องกันไม่ให้สายตาสั้นมากขึ้น
1. พยายามมองระยะไกลทุกครั้งที่มีโอกาส เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อวง แหวน คลายตัว
2. ควรถอดแว่นตาทุกครั้งที่ใช้สายตาระยะใกล้ ( อ่านหรือเขียนหนังสือ )
3. ควรหากิจกรรมที่ทำในที่โล่งแจ้ง เพื่อกระตุ้นการใช้สายตาระยะไกล
4. ใช้ฝ่ามือ กดลูกตาผ่านบริเวณเปลือกตาที่ปิดสนิท เพื่อส่งแรงดันกดลูกตา ให้สั้นลง และคลายอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อวงแหวน ทำวันละ 1 ครั้ง ๆ ละ 60 วินาที ก่อนนอน และเวลามีอาการสายตาล้าจากการใช้สายตาระยะใกล้นานๆ
5. กะพริบตาให้บ่อยประมาณ 1 ครั้ง ต่อ 10 วินาที จะช่วยให้กล้ามเนื้อตารู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
2. สายตายาว
เป็นภาวะที่ตรงข้ามกับสายตาสั้น คือ แสงผ่านที่กระจกตาและเลนส์มาโฟกัสหลังจอประสาทตา แต่ร่างกายสามารถแก้ไขให้ชัด โดยใช้เลนส์ตาช่วยปรับโฟกัสได้ โดยใช้การเพ่ง (Accomodation) ตลอดเวลา ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดตา ปวดศรีษะได้ และเมื่ออายุมากขึ้นกำลังการเพ่งจะลดลง จนไม่สามารถจะโฟกัสแสงได้อีกก็ทำให้เห็นภาพไม่ชัด วิธีการแก้ไขคือการใส่แว่นเลนส์นูน
อาการและการแก้ไข
1. มองภาพระยะใกล้ไม่ชัดแก้ไขโดยใช้แว่นสายตา
2. เพลียตา ปวดตา น้ำตาไหล แพ้แสง อาการเหล่านี้มักเกิดร่วมกับการใช้สายตาระยะใกล้ หรือที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ แก้ไขโดยใส่คอนแทคเลนส์
3. รู้สึกตาขวางๆหรือหนักตาเมื่อทำงานระยะใกล้ๆ แก้ไขโดยใส่คอนแทคเลนส์หรือผ่าตัด
3. สายตาเอียง
ภาวะสายตาเอียง หมายถึง การที่กระจกตามีความโค้งในแต่ละแนวไม่เท่ากัน เปรียบผิวของกระจกตาได้กับผิวของลูกรักบี้ ส่วนสายตาปกติจะมีผิวของกระจกตาเหมือนความโค้งของลูกฟุตบอล ทำให้ตาไม่สามารถจะโฟกัสแสงในแต่ละแกน ให้เป็นจุดเดียวกัน การแก้ไขคือการใส่แว่นที่มีกำลังของเลนส์ในแกนหนึ่งมากกว่าอีกแกนหนึ่ง หรือการใช้เลนส์สัมผัส
สาเหตุของสายตาเอียง
พบว่าเกิดจาก การที่มีก้อนเนื้อมากดลูกตา เช่น คนไข้เป็นกุ้งยิง หรือมีก้อนเลือดที่เปลือกตามากดกระจกตา ทำให้กระจกตาเบี้ยวหรือเอียงไป และในคนที่มีต้อเนื้อด้วย บริเวณหัวตาหรือหางตามาถึงกระจกตาในกรณีหลังสามารถแก้ไขโดยการรักษาที่ สาเหตุที่มาดึงหรือกดกระจกตานั้น
อาการและการแก้ไข
1. การมองเห็นภาพซ้อนพร่ามัวปวดตาเพลียตา และอาจปวดหัวแก้ไขโดยใช้แว่นตา
2. แสบตาหรือน้ำตาไหลแก้ไขโดยใส่คอนแทคเลนส์
4. สายตาคนสูงอายุ
สายตาประเภทนี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่จะต้องเกิดกับทุกคน เมื่อมีอายุประมาณ40 ปี ขึ้นไป เกิดจากการเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อภายในเลนส์ตา (Crystalline Lens) ที่จะสูญเสียความยืดหยุ่นเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งต้องใช้แว่นสำหรับดูใกล้หรืออ่านหนังสือ
วิธีการแก้ไขสายตาผิดปรกติ (Treatment for Amatropia)
อุปกรณ์ช่วยในการมองเห็นและวิทยาการทางการแพทย์อันทันสมัยในปัจจุบัน มีให้เลือกใช้บริการตามความต้องการ และเหมาะสมกับสภาพความผิดปกติของสายตามากมายเช่น
1. แว่นตา
ยัง คงครองความนิยมสำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตา เพราะสะดวก สวมใส่ง่าย ปลอดภัยสูง ง่ายต่อการดูแลรักษาและทำความสะอาด เพียงแต่หมั่นเช็ดทำความสะอาด หรือล้างด้วยแชมพูอ่อนๆ แล้วเช็ดให้แห้ง เก็บไว้ในซองแว่นเสมอ ถ้าไม่ใช้งาน อีกทั้งยังมีรูปแบบให้เลือกหลากหลายสไตล์ ให้เหมาะกับบุคลิกที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว หรือให้เหมาะกับการใช้งานแว่นสายตา สามารถเปลี่ยนได้บ่อยตามใจชอบ
2. คอนแทกเลนส์
เป็น อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่มีสายตาผิดปกติ แต่ยังรักสวยรักงาม ไม่สะดวกที่จะใส่แว่นตา หรือนักกีฬาที่ต้องเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา สามารถแก้ไขปัญหาสายตาได้ทั้งสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างบุคลิกให้สวยงาม คอนแทคเลนส์ยังช่วยให้มองภาพในมุมกว้างได้ดี ปัจจุบันคอนแทคเลนส์ออกแบบให้มีสีสันมากมายให้เลือกอีกด้วย
3.การผ่าตัด (Refractive Surgery)
เป็น วิธีการแก้ไขปัญหาสายตาสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์ การผ่าตัดได้มีการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการรักษามา จนปัจจุบันมีการนำเอาเลเซอร์มาใช้ร่วมกับการผ่าตัด เรียกว่า เลสิค [ Lasik = Laser assisted in situ keratomeleusis ] โดยวิธีใช้มีดพิเศษ ผ่ากระจกตาออกเป็นฝาเปิด แล้วใช้ Execimer Laser ตัดกระจกตาส่วนล่างให้บางลง การจะตัดออกขนาดไหนขึ้นอยู่กับขนาดของสายตาที่ผิดปกติ ถ้าสายตาสั้นมาก ก็จะต้องตัดออกมาก แล้วปิดฝากระจกตาเข้ารูปเดิม ทำให้กระจกตาทั้งหมดบางลง ความโค้งก็จะลดลง หรือนัยหนึ่งกระจกตาจะแบนลง สายตาสั้นก็จะลดลง ถ้าตัดได้พอดี สายตาสั้นก็จะหายไป แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ค่าใช้จ่ายยังค่อนข้างสูง ประเภทของสายตาสุขภาพของคนที่จะทำเลสิคด้วยเช่นกัน
วิธีการเลือกแว่นตา
แว่น ตาในปัจจุบันนอกจากจะเป็นสิ่งที่ช่วยในการมองเห็น สำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตาแล้ว ยังนับเป็นเครื่องประดับชิ้นสำคัญ ที่อยู่บนใบหน้าของเราอีกด้วย สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกแว่นตา อย่าง เช่น
• ความสบายในขณะสวมใส่แว่นตาตลอดทั้งวัน
• น้ำหนักของกรอบแว่นก็มีส่วนสำคัญในการเลือกใช้
• ความทนทานและแข็งแรงของกรอบแว่นตา โดยเฉพาะผู้ที่มีสายตาที่มีความหนาของเลนส์มากๆ
การเลือกแว่นสายตา
1. หน้าแว่นต้องตรงจะทำให้มองภาพคมชัดกว่าหน้าแว่นที่โค้ง
2. สีสันเรียบง่ายทำให้ใช้ได้นาน ไม่เบื่อเร็ว เช่น สีดำสีทอง
3. รูปทรงธรรมดาไม่โอเว่อร์ เช่น ทรงกลม ทรงรี ทรงหยดน้ำ หรือไม่ก็ทรงเหลี่ยม
4. ขนาดของกรอบขึ้นกับชนิดของเลนส์
การเลือกแว่นกันแดด
1. อันใหญ่กันแดดกันลมได้ดีกว่าอันเล็ก
2. ไม่ควรเลือกเผื่อไปทำแว่นสายตา เพราะใช้งานไม่เหมือนกัน
3. สีสันและลวดลายมีให้เลือกมากมายตามใจชอบ แต่ก็ไม่ควรโอเว่อร์เกินไปเพราะจะเบื่อง่าย
ประเภทและชนิดต่างๆ ของแว่นตา
1. กรอบแว่นตาที่เป็นโลหะ
กรอบแว่นตาที่ทำมาจากเนื้อวัสดุโลหะจะมีที่เบา และบางกว่าชนิดพลาสติก โดยส่วนใหญ่ของกรอบโลหะจะดูมีราคา และความภูมิฐานมากกว่ากรอบชนิดพลาสติก
- กรอบแว่นโลหะชนิดนิกเกิลซิลเวอร์ (Nickle Silver) โลหะชนิดนี้ส่วนมากมักจะชุบสีทอง สีเงิน สีดำและสีน้ำตาล ส่วนราคาไม่แพงนัก กรอบโลหะนิกเกิลจะไม่เหมาะกับ คนที่มีเหงื่อจัดมาก เพราะโลหะจะผุเมื่อถูกกับเหงื่อผู้ใช้นานๆ ป้องกันโดยทำความสะอาด ด้วยการล้างน้ำยาทำความสะอาดแว่นตาทุกวัน
- กรอบแว่นโลหะไตตาเนียม (Titanium) เป็น โลหะที่เชื่อว่าดีที่สุดในยุคปัจจุบัน จะมีน้ำหนักเบาไม่เป็นสนิมและไม่ผุกร่อน แม้ผู้ที่ใช้จะมีเหงื่อที่เค็มผิดปกติ กรอบแว่นตาที่ทำด้วยโลหะชนิดนี้ส่วนมากราคาจะสูงกว่าโลหะทั่วไปเล็กน้อย
2. กรอบแว่นตาที่เป็นพลาสติก
ตัวกรอบจะหนามีน้ำหนักเบา ก้านขาใหญ่ ไม่มีแป้นจมูก นิยมใช้เป็นแว่นกันแดด หรือคนสูงอายุจะใช้เป็นแว่นสายตาดูใกล้
รูปหน้ากับแบบแว่นตาที่เหมาะสม
ใบหน้าสี่เหลี่ยม
ควรใช้แว่นแบบโค้งมนกรอบเจาะรู (ไม่มีขอบ)และกรอบรูปไข่เพื่อช่วยลดความเหลี่ยมของใบหน้าลง
ใบหน้ารูปไข่
เป็นบุคคลที่โชคดีจริงๆเพราะเข้ากับกรอบทุกรูปแบบยินดีด้วยจ๊ะ
ใบหน้าสามเหลี่ยม
ควรเลือกแว่นรูปผีเสื้อหรือแว่นเจาะรู (ไม่มีขอบ)เพื่อความสมดุลกับใบหน้า
ใบหน้ารูปกลม
ควรเลือกใช้แว่นรูปเหลี่ยมที่ขาแว่นอยู่ในระดับสูงหรือตรงกลางของหน้าแว่นเพื่อทำให้ความกลมลดลง
ใบหน้ายาว
ควรเลือกแว่นรูปแบบโค้งมนเพื่อที่จะทำให้ใบหน้าดูกว้างขึ้นดูแล้วสมดุลกันกับรูปหน้าที่ยาว
การสวมใส่แว่นตาที่ถูกวิธี
1.ให้ใช้มือทั้งสองในการจับขาเพราะว่าการสวมใส่หรือถอดแว่นตาด้วยมือเพียงข้างเดียว จะทำให้แว่นบิดเบี้ยวเสียรูปทรงได้
2. สวมใส่แว่นตาด้วยความระมัดระวังให้เข้ากันพอดีกับความกว้างของใบหน้า ใส่ให้กระชับกับใบหู โดยเฉพาะท่านสุภาพสตรีควรให้ขาแว่นตาอยู่ใต้เส้นผม ติดกับศรีษะเพื่อความกระชับ
3. ขณะสวมแว่นตาควรกระชับติดกับใบหน้า ถ้าแว่นตาสวมไม่พอดีกับใบหน้าและตกลงมา ควรนำแว่นตาไปแก้ไขให้พอดีกับใบหน้า
การดูแลรักษากรอบแว่นตาที่ถูกวิธี
1. กรอบแว่นตานั้นสกปรกได้ง่าย ซึ่งอาจเป็นเพราะผลิตภัณฑ์บำรุงรักษาเส้นผม ดังนั้นควรทำความสะอาดกรอบแว่นตาอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
2. ให้ใช้แปรงสีฟันที่ไม่ใช้แล้วทำความสะอาดด้านหลังแป้นจมูกทั้งสองข้าง
http://blog.eduzones.com/poonpreecha/96474
Can I make money from betting in my home office? - Work
ตอบลบYou can make money from betting in my home office. You can make money from betting in หารายได้เสริม your home office. You can make money from betting in your home office. choegocasino You can make 메리트 카지노 쿠폰 money from